นิโคติน กับภัยอันตรายที่ต้องระวัง

nicotin

ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน มีผู้ที่สูบบุหรี่มากมายเพื่อระบายความเครียด เพิ่มสมาธิ และช่วยรีเฟรชร่างกายให้กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น แต่บุหรี่ก็เป็นสิ่งที่ทำลายชีวิตของผู้สูบด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าในบุหรี่นั้นมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าเป็นจะเป็น ทาร์ ฟอร์มาลีน คาร์บอนมอนอกไซด์ ปรอท ตะกั่ว และสารอื่น ๆ รวมถึงสารนิโคติน ที่เรียกได้ว่าเป็นสารเสพติดที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่ติดบุหรี่และเลิกได้ยาก

ซึ่งในวันนี้เรามาดูกันว่า สารนิโคติน คือ อะไร ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง รวมถึงโทษของการสูบบุหรี่มวนที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบ และทางเราก็มีวิธีเลิกสูบบุหรี่มวนเพื่อหลีกเลี่ยงสารอันตรายจากบุหรี่มาแนะนำกันครับ


สารบัญบทความ


 

นิโคติน คืออะไร?

นิโคติน คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มยาสูบ มักจะพบในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น บุหรี่ ไปป์ ซิการ์ ซึ่งสารนิโคตินนั้นจัดอยู่ในสารเสพติดที่ส่งผลให้โทษที่อันตรายต่อระบบเส้นประสาทและสมอง โดยเมื่อร่างกายได้รับสารนิโคตินเข้าไปแล้ว จะเกิดการดูดซึมและทำให้ต่อมหมวกไตมีการหลั่งสารเอพิเนฟรีน(Epinephrine)ออกมา 

ซึ่งสารเอพิเนฟรีนนั้นจะทำให้ผู้สูบบุหรี่เริ่มเสพติดสารนิโคติน และทำให้ร่างกายเกิดความอยากและต้องการรับสารนิโคตินเพิ่มขึ้น จึงทำให้ผู้สูบบุหรี่เสพติดการสูบบุหรี่หรือสิ่งอื่น ๆ ที่มีสารของนิโคตินมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงแม้ว่าอยากจะเลิกแต่ก็เผลออดใจไม่สูบบุหรี่ไม่ได้


 

นิโคตินส่งผลกับร่างกายอย่างไรบ้าง? 

เมื่อเสพสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายแล้ว นิโคตินจะไหลผ่านกระแสเลือด และถูกส่งไปยังสมอง ซึ่งจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายหลั่งสารเอพิเนฟรีนและสารโดปามีนออกมา

การออกฤทธิ์ของสารนิโคตินนั้นจะขึ้นอยู่กับความไวของเส้นประสาท และปริมาณที่เสพสารเข้าไป โดยส่วนมากแล้วเมื่อเสพสารนิโคตินจะทำให้เกิดความพึงพอใจ มีความสุขมากขึ้น และยังออกฤทธิ์อื่น ๆ ได้ เช่น 

  • ทำให้ร่ายกายรู้สึกสบาย 
  • ช่วยคลายความเครียดและกังวล 
  • ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น 
  • ทำให้มีความจำระยะสั้นดีมากยิ่งขึ้น
  • ลดความรู้สึกอยากอาหาร

นอกจากนี้แล้วสารนิโคตินก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นหัวใจเร็วขึ้น หายใจเร็วและถี่มากขึ้น และยังทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงได้อีกด้วย

ทั้งนี้ระดับการดูดซึมสารนิโคตินเข้าไปในกระแสเลือดและสมองนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารนิโคตินที่ได้รับ และวิธีการที่เสพสารนิโคตินเข้าไป เช่น ร่างกายจะรับนิโคตินในบุหรี่ผ่านการสูบและหายใจรับควันบุหรี่เข้าไปได้เร็วกว่าการรับนิโคตินจากการสูบซิการ์หรือไปป์

สูบบุหรี่แล้วติดสารนิโคตินขึ้นมาแล้วจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

1. ปัญหาสุขภาพ

เมื่อติดสารนิโคตินในบุหรี่แล้วหากไม่พูดถึงปัญหาสุขภาพเลยก็คงไม่ได้ เพราะจะได้รับโทษจากสารอันตรายในบุหรี่ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น

  • ปัญหาทางช่องปาก เช่น กลิ่นปาก โรคทางเหงือกและฟัน
  • ผิวหนังดูเหี่ยวย่น หม่นหมอง
  • ร่างกายรับกลิ่นหรือรสต่าง ๆ ลดลง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • บาดแผลสมานตัวช้าลง 
  • สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง เกิดภาวะมีบุตรยาก
  • โรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น โรคภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • ลิ่มเลือดอุดตัน โดยลิ่มเลือดอาจไปอุดตันเส้นเลือดในสมองหรือปอด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • โรคเกี่ยวกับหลอดลม 
  • โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด

2. ความอยากสารนิโคตินอย่างห้ามไม่ได้

เมื่อสูบบุหรี่จนร่างกายติดสารนิโคตินแล้ว แม้ว่าอยากจะเลิกบุหรี่มากแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ง่าย ๆ

3. พฤติกรรมเปลี่ยนไป

หลังจากติดสารนิโคตินในบุหรี่แล้ว ผู้สูบจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป โดยจะต้องหาเวลาเพื่อสูบบุหรี่ รวมถึงสถานที่ที่สามารถสูบบุหรี่ได้ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะทำให้ผู้สูบเข้าหาสังคมน้อยลง หรือพยายามปลีกตัวออกไปเพื่อหาสถานที่ที่ตนเองสามารถสูบบุหรี่ได้

4. ภาวะขาดนิโคติน

ในกรณีที่ติดนิโคตินแล้วไม่ได้รับสารเข้าไป จะทำให้ร่างกายเกิด “ภาวะขาดนิโคติน” ซึ่งจะทำให้ผู้ขาดนิโคตินรู้สึกกระสับกระส่าย ปวดหัว หัวใจเต้นช้าลง ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ รู้สึกซึม รวมถึงยังทำให้น้ำหนักกายเพิ่มขึ้นเนื่องจากร่างกายมีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น 

อาการข้างต้นนั้นจะมีความรุนแรง และทำให้ผู้มีภาวะขาดนิโคตินรู้สึกทรมานมาก ๆ ในช่วงวันแรก ๆ แต่หลังจากที่ร่างกายเริ่มปรับตัวได้ก็จะทำให้อาการดังกล่าวค่อย ๆ บรรเทาลง และดีขึ้นหลังจากผ่านไปประมาณ 1 เดือน


 

นิโคตินในบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งปอดจริงไหม?

นิโคตินในบุหรี่มวน

หลาย ๆ คนคงรู้อยู่แล้วใช่ไหมครับ ว่าบุหรี่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางหายใจ รวมถึงโรคมะเร็งปอดซึ่งเป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบจากการสูบบุหรี่มากถึง 80-90% เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลาย ๆ คนมักจะเข้าใจว่า นิโคตินในบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งปอด แต่ที่จริงแล้วนิโคตินไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็งแต่อย่างใด

นิโคติน เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่มักพบในบุหรี่ โดยจะมีฤทธิ์ทำให้เกิดการเสพติดเท่านั้น แต่ในบุหรี่จะมีสารเคมีอื่น ๆ มากกว่า 7,000 ชนิด ซึ่งมีสารพิษมากกว่า 250 ชนิด อีกทั้งสาร 70 กว่าชนิดที่อยู่ในบุหรี่นั้นเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น ทาร์ พอโลเนียม-210 ฟอร์มาลีน คาร์บอนมอนออกไซด์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสารนิโคตินในบุหรี่จะมีส่วนทำให้เกิดการเสพติดเท่านั้น แต่เนื่องจากบุหรี่มีสารอันตรายอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก จึงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วก็ควรที่จะลดและเลิกบุหรี่


 

บุหรี่มวนก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรบ้าง?

สารในบุหรี่ส่งผลอันตรายต่อร่างกาย

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า บุหรี่มวนมีสารอันตรายต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายผู้สูบเป็นอย่างมาก เช่น

  • ทำลายอวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก หลอดเลือด สมอง ทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดโรคอันตรายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ โรคมะเร็ง เป็นต้น
  • ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง และเกิดภาวะมีบุตรยาก
  • มีความเสี่ยงในการแท้งของผู้หญิงมีครรภ์
  • มีโอกาสทำให้ตาบอดอย่างถาวรได้

นอกจากนี้ควันจากบุหรี่มวนยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยสิ่งตกค้างจากควันบุหรี่ที่ลอยไปตามอากาศจะก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลรอบข้าง ซึ่งผู้ที่สูดควันบุหรี่จากคนที่สูบบุหรี่(ควันมือสอง) เข้าไปแล้วอาจมีอาการแพ้ควัน ติดเชื้อบริเวณตา จมูก ลำคอ รวมถึงความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มะเร็งปอด เป็นต้น

สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่อันตรายของบุหรี่มวน และถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง โดยจะเลิกบุหรี่ได้อย่างไร มาดูไปด้วยกันในหัวข้อถัดไปครับ


 

วิธีลด ละ เลิกบุหรี่

วิธีลดละเลิกการสูบบุหรี่

บุหรี่มีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายผู้สูบและผู้คนรอบข้างที่ได้สูดรับควันเข้าไป ดังนั้นการเลิกบุหรี่จึงเป็นทางเลือกที่ดี แต่สำหรับผู้ที่เสพติดสารนิโคตินจากบุหรี่แล้ว ถ้าหากให้เลิกสูบบุหรี่อย่างกระทันหัน ก็ส่งผลกระทบต่อร่างกาย และอาจทำให้เกิดอาการขาดนิโคตินได้

วิธีเลิกสูบบุหรี่ด้วยการรับนิโคตินทนแทน เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้ เพราะนิโคตินทดแทนจะสามารถคุมปริมาณนิโคตินที่เสพได้ดีกว่านิโคตินในบุหรี่ อีกทั้งยังมีปริมาณน้อยกว่า จึงเป็นทางเลือกที่มักใช้ในการรักษาอาการเสพติดบุหรี่

ในปัจจุบันมีการผลิตนิโคตินทดแทนหลายรูปแบบเพื่อช่วยแก้ปัญหาการติดนิโคตินในบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นนิโคตินในรูปแบบลูกอม แผ่นแปะ หมากฝรั่ง สเปรย์พ่นจมูก ยาสูดพ่น ซึ่งในตอนนี้ประเทศไทยจะมีจำหน่ายแค่หมากฝรั่งนิโคติน และแผ่นแปะนิโคตินเท่านั้น

โดยเมื่อใช้นิโคตินทนแทน สารนิโคตินจะค่อย ๆ ซึมซับเข้าภายในร่างกายช้า ๆ เพื่อให้ร่างกายได้เกิดการปรับตัว และความอยากบุหรี่จะค่อย ๆ ลดลง นั่นหมายความว่าผู้สูบจะไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องสารอันตราย และยังช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ได้เป็นอย่างดี 

อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าวิธีเลิกสูบบุหรี่ด้วยการใช้นิโคตินทดแทนนั้นไม่ได้ช่วยทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้ทันใจเห็น แต่เป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยทำให้ช่วยเลิกบุหรี่ได้โดยที่ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการอยากนิโคตินเพียงเท่านั้น

สำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่มวนที่มีสารพิษอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนิโคตินทดแทนแล้วยังมีวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยได้ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า เชื่อว่าหลาย ๆ คนพอได้ยินคำว่าบุหรี่ก็จะสงสัยว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไหม และอาจจะเข้าใจว่า บุหรี่ไฟฟ้า ก็เป็นสิ่งอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกันกับบุหรี่มวน แต่ที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด

บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในปัจจุบัน เนื่องจากตัวเครื่องมีดีไซน์สวยงาม พกพาสะดวก ใช้งานง่าย อีกทั้งยังสามารถเลือกรสหรือกลิ่นที่ชอบได้ และที่สำคัญยังสามารถเลือกปริมาณนิโคตินที่ต้องการเสพได้ 

ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกเสพบุหรี่ แต่ก็ติดเสพควัน หรือชอบสูบเพื่อผ่อนคลายความเครียด หรือระบายอารมณ์ ก็สามารถหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อทดแทนอาการอยากสารนิโคตินได้ โดยไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องสารพิษอันตรายที่ส่งผลต่อร่างกายของตนเองและผู้อื่นเช่นเดียวกับบุหรี่มวน หรือในกรณีที่ต้องการอยากเลิกบุหรี่อย่างถาวร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เลิกบุหรี่


 

สรุป

บุหรี่ เป็นสิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายผู้สูบ และผู้คนรอบตัว ซึ่งในบุหรี่จะมีสารนิโคตินที่จะทำให้ผู้เสพติดบุหรี่ และไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ หรือพยายามเลิกได้ยากแม้ว่าจะรู้อยู่แล้วว่าบุหรี่มีสารต่าง ๆ ส่งผลอันตรายให้กับร่างกายมากมายก็ตาม

ดังนั้น สำหรับผู้ที่เสพติดการบุหรี่จึงควรหาทางเลือกอื่นในการรับสารนิโคตินทดแทนเพื่อเลิกบุหรี่ได้ง่ายมากขึ้น เช่น การใช้นิโคตินทดแทน หรือการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการรับสารอันตรายจากบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย


// Put this code snippet inside script tag