อะตอม RTA อะตอมแท๊งค์ อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า คอยล์เดี่ยว คอยล์คู่
C9Shop จำหน่ายสินค้า อะตอม RTA อะตอมบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีแท๊งค์เก็บน้ำยา สามารถบรรจุน้ำยาได้เยอะ และให้ฟิลสูบที่ดี เป็นรูปแบบที่เราไม่ต้องพกขวดไปด้วยเพื่อใช้งาน มีทั้งแบบคอยล์เดี่ยว และคอยล์คู่ รวมไปถึงรูลมที่มีทั้งแบบบน และล่างให้เลือกใช้ได้ตามสะดวก สำหรับใครที่กำลังมองหาอะตอมดีๆสักตัว อย่าลืมมาเลือกซื้อกับเรา มีสินค้าครบ จบในร้านเดียว
อะตอม RTA หรือที่เราเรียกติดปากกันว่าอะตอมแท๊งค์ เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมไม่แพ้แบบหยดสูบเลย โดยมีหลายแบบให้เลือกใช้งาน รวมไปถึงมีสินค้าหลายแบรนด์ ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการสินค้าแบบไหน ซึ่งแท๊งค์แต่ละตัว หรือแต่ละรุ่นก็มีเอกลักษณ์ และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป โดยจุดประสงค์คือต้องการให้มีอะตอมบุหรี่ไฟฟ้าที่สามารถกักเก็บน้ำยาได้เยอะ โดยไม่ต้องพกขวดน้ำยาไปใช้งานด้วย แล้วใช้งานได้ตลอดทั้งวัน
อะตอม RTA เป็นอะตอมแบบไหน
ต้องขอแนะนำก่อนว่า อะตอม RTA เป็นอะตอมบุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง ที่นักสูบนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากๆ ด้วยคุณสมบัติที่มีแท๊งค์เก็บน้ำยา ทำให้สามารถบรรจุน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าได้เยอะ โดยมีตั้งแต่ 4-12ml. กันเลยทีเดียว แต่ส่วนมากจะอยู่ที่ 5-6 ml. มากกว่า ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้งานรุ่นไหน โดยชื่อของ RTA มาจาก Rebuildable Tank Atomizer ย่อสั้นๆว่า RTA ซึ่งนักสูบในบ้านเราจะเรียกว่าอะตอมแท๊งค์ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่ใช้งานหยดสูบ แล้วรู้สึกว่าการที่ต้องเติมน้ำยาอยู่ตลอด เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก จึงได้มีการคิดค้นขึ้นมา ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์การใช้งานได้ดีแล้ว ยังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกด้วยแรกเริ่มเดิมที RTA รุ่นเก่าๆจะมีข้อจำกัดตรงเรื่องของกลิ่น และรสชาติที่หวานฉ่ำสู้แบบหยดสูบไม่ได้เลยแม้แต่น้อย เพราะรูลมที่อยู่ด้านล่าง จะไม่ได้เป่าโดนคอยล์ อีกทั้งเรื่องปัญหาการรั่วซึมที่ต้องอาศัยความชำนาญในการใช้งาน จึงจะสามารถแก้ไขเรื่องตรงนี้ได้ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาจนสามารถให้กลิ่นที่ดีได้มากยิ่งขึ้น และแก้ไขปัญหาการรั่วซึมที่มีมานานมากให้หมดไป จนในที่สุดก็ได้รับความนิยมอย่างมากจนมาถึงทุกวันนี้
อะตอม RTA มีกี่แบบ
โดยส่วนมากเราจะแบ่ง อะตอม RTA ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งทำให้สามารถจัดรูปแบบได้ง่าย และสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีดังนี้รูลมล่าง (Bottom Airflow)
มีรูลมอยู่ที่ด้านล่าง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เห็นได้บ่อยที่สุด โดยการทำงานเมื่อทำการสูบ อากาศจะเข้าที่บริเวณรูลมทางด้านล่าง เข้าสู่ห้องเครื่องต่อไป ซึ่งภายในห้องเครื่องการออกแบบทางลมก็มีหลายรูปแบบ ทั้งเป่าที่คอยล์ตรงๆทางด้านข้าง เป่าเข้าที่ด้านล่างของคอยล์ หรือเป็นรูลมแบบหลายทิศทางก็มี ซึ่งตรงนี้ต้องดูว่าแต่ละรุ่นมีสเปคแบบไหนนั้นเอง เป็นอะตอมแท๊งค์ที่ให้กลิ่นดีมากๆ แต่ข้อเสียคือด้วยความที่รูลมอยู่ด้านล่าง จึงมีโอกาสเกิดการรั่วได้ ยิ่งหากผู้ใช้เป็นมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ อาจจะทำให้น้ำยาไหลย้อนออกมาทางรูลมรูลมบน (Top Airflow)
มีรูลมอยู่ที่ด้านบน ซึ่งหลักการทำงานจะมีความซับซ้อนกว่า เพราะเมื่อทำการสูบ อากาศจะเข้าทางรูลมด้านบน ก่อนจะไหลมายังท่ออากาศเพื่อเข้าสู่ห้องเครื่อง ทำให้เรื่องของความฉ่ำอาจจะขาดหายไปบ้าง แต่สิ่งที่ได้กลับมาทดแทนเลยคือ จะไม่มีปัญหารั่วซึมมากวนใจแน่นอน นอกจากว่าอุปกรณ์เสื่อมสภาพนั้นเอง แต่ภายหลังได้มีการปรับปรุงให้สามารถดึงกลิ่นได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการปรับท่อรูลม หรือการใช้คอยล์แบบตาข่าย ก็แล้วที่รุ่นนั้นๆจะรองรับอุปกรณ์ที่ใช้กับ อะตอม RTA
ลำพังแค่อะตอมอย่างเดียว คงไม่สามารถนำไปใช้สูบได้อยู่แล้ว ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆร่วมด้วย เพราะ โดยอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้งานร่วมกันมีดังนี้- ตัวเครื่องบุหรี่ไฟฟ้า อุปกรณ์อย่างแรกที่ต้องมีคือบุหรี่ไฟฟ้า เพราะเป็นแหล่งจ่ายไฟ และเลือกโหมดการทำงานต่างๆ โดยต้องใช้กับบุหรี่ไฟฟ้าที่มีขั้ว 510 ซึ่งก็คือ มอดยิงสด และกล่องปรับวัตต์เท่านั้น ในส่วนของพอตมอด ถ้าหากมีอแดปเตอร์ 510 ก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน
- ลวดบุหรี่ไฟฟ้า สำหรับเปลี่ยนไฟฟ้าเป็นความร้อนเพื่อระเหยน้ำยาให้กลายเป็นไอน้ำ โดยลวดบุหรี่ไฟฟ้าก็มีหลายแบบให้เลือกใช้งาน สามารถใช้ได้ตามความเหมาะสม
- สำลีบุหรี่ไฟฟ้า ทำหน้าที่ในการดูดซับน้ำยามาเก็บไว้ เพื่อให้คอยล์ระเหยต่อไป โดยต้องเลือกสำลีสำหรับบุหรี่ไฟฟ้าเท่านั้น เพราะไม่มีสารเคมี ไม่ฟอกขาว และเป็นสำลีจากฝ้ายธรรมชาติแท้ๆ ไม่ผสมใยสังเคราะห์
- น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า แนะนำให้ใช้งานกับแบบฟรีเบสเท่านั้น เพราะจะรองรับการสูบแบบ DL และ RDL จึงไม่ควรใช้กับซอลนิค อีกทั้งควรเลือกใช้งานน้ำยาที่มีคุณภาพ จะช่วยให้อรรถรสในการสูบดีขึ้น

อะตอม RTA กับ RDTA ต่างกันอย่างไร
มีนักสูบหลายๆคนที่ยังแยกระหว่าง RTA กับ RDTA หรือกึ่งหยดสูบไม่ออก เห็นมีแท๊งค์เก็บน้ำยาเหมือนกัน จึงคิดว่าเป็นแบบเดียว เราจะมาแยกความต่างระหว่างอะตอม 2 ตัวนี้กัน- วิธีสังเกตง่ายๆคือ RTA ตัวแท๊งค์ที่เก็บน้ำยามักจะอยู่ตรงกลาง หรือไม่ ภายในแท๊งค์ เราจะเห็นแคปของห้องเครื่องอยู่ภายใน แต่สำหรับแบบ RDTA ภายในแท๊งค์จะโล่งๆ ไม่มีอะไรเลย เพื่อให้ปลายสำลีลงมาดูดซึมน้ำยาเท่านั้น และแท๊งค์มักจะอยู่ที่ส่วนล่างเสมอ
- RDTA ก็คือแบบหยดสูบที่มีแท็งค์เก็บน้ำยา ระบบการทำงานจะเหมือนกับหยดสูบเกือบทุกอย่าง ต่างกันแค่ฟิลสุบ และความฉ่ำเท่านั้น
- RTA ไม่สามารถหยดน้ำยาแล้วสูบแบบ RDTA ได้ เพราะส่วนของแคปจะมีความยาวกว่า
- RDTA สามารถแปลงเป็นหยดสูบได้ในตัว แต่ 2 แบบไม่สามารถใช้งานกับกล่องบีบได้
- รูมลมของ RTA จะอยู่ที่ด้านล่าง หรือบนเท่านั้น ส่วน RDTA จะอยู่ที่ด้านข้างของส่วนแคป แบบเดียวกับอะตอมหยดสูบเลย
วัสดุที่นำมาใช้ผลิต อะตอม RTA
โดยส่วนมากมักจะใช้วัสดุที่แข็งแรง และมีความทนทานมากๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน จะนิยมใช้เป็นสแตนเลส Stainless ที่มีความแข็งแรง และโอกาสการเกิดสนิมนั้นน้อยมากๆ หากใช้งาน และดูแลรักษาได้ถูกวิธี รับรองว่าอยู่ยาวเลย ในส่วนของแท๊งค์ จะใช้เป็นแก้ว ซึ่งแต่ละแบรนด์ ก็ใช้แก้วที่เกรดต่างกันออกไป ให้ความใส สวยงาม และดูพรีเมี่ยม แต่ข้อเสียคือ หากทำตกกระแทก อาจทำให้แตก และเสียหายได้ง่าย แต่ก็มีบางรุ่นที่ใช้พลาสติก PCTG ที่ให้ความใสเช่นกัน และทนต่อการตกกระแทก ได้ดีกว่าแก้ว แต่ราคาจะถูกลง ก็แล้วแต่ว่า ชอบใช้งานในรูปแบบไหน ในส่วนของดริปทิปจะมีวัสดุที่หลากหลายกว่า ทั้งเรซิ่น อัลเทม หรือ AG+ แล้วแต่ว่าแบรนด์นั้นๆ จะเลือกอะไรมาใช้งานนั่นเอง
อะตอม RTA รั่ว แก้ไขอย่างไร
ปัญหาการรั่วซึม เป็นปัญหาที่อยู่คู่วงการบุหรี่ไฟฟ้ามาอย่างยาวนาน โดยในแบบ RTA สาเหตุของการรั่วมีได้หลายอย่าง จึงมีวิธีแก้ไขที่ต่างกันไป เราจะมาเสนอเทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้อุปกรณ์ของคุณไม่รั่วขณะใช้งาน หรือถึงแม้จะรั่ว ก็มีวิธีแก้ไข- รั่วจากการที่สำลีน้อยเกินไป มือใหม่บางคน เวลาใส่สำลี ถ้าไม่ใส่เยอะ ก็ใส่น้อยจนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำยารั่วได้ เพราะเมื่อสำลีมีไม่พอ ช่องวางสำลีจะว่าง เมื่อเติมน้ำยาเข้าไป น้ำยาจะไหลเข้ามาในห้องเครื่อง และรั่วออกมาทางรูลมด้านล่าง วิธีแก้คือปรับการใส่สำลีให้พอดีกับช่องเดินน้ำยา หรือก็เปลี่ยนมาใช้แบบรูลมบน
- รั่วจากการประกอบแท๊งค์แก้วไม่ดี อีกสาเหตุคือการที่เราวางแท๊งค์ลงไปได้ไม่ถูกจุด หรือไม่ลงรอยกับยางโอริง ทำให้น้ำยาสามารถรั่วออกมาจากจุดนั้นๆได้ วิธีแก้คือประกอบใหม่ ดูให้เข้าที่ก่อนจะเติม หรือประกอบกับเข้าที่
- ยางซิลิโคนเสื่อมสภาพ ยางโอริง เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานสั้น ดังนั้นในบางครั้ง เมื่อเสื่อมสภาพ จะไม่สามารถประกบรอยต่อระหว่างแก้วได้ ทำให้น้ำยาไหลซึมออกมา ทางที่ดีคือให้เปลี่ยนยางใหม่ ซึ่งในชุดจะมีแถมมาให้เป็นอะไหล่สำรอง
- สำลีเสื่อมสภาพ บางคนใช้งานสำลีมาแล้วหลายวัน ไม่ยอมเปลี่ยน สำลีที่ใช้จึงไม่สามารถดูดซับน้ำยาได้อีกต่อไป และเกิดการยุบตัว ซึ่งเมื่อสำลียุบตัว ก็จะเกิดภาวะแบบข้อแรกเลย คือเกิดช่องว่างที่ทางเดินน้ำยา ควรเปลี่ยนสำลีบ่อยๆ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่คอยล์หากยังใช้ได้ก็ไม่ต้องเปลี่ยน
- เติมน้ำยาทิ้งไว้ข้ามคืน การเติมทิ้งเอาไว้ สำลีจะดูดซึมน้ำยาเข้าไปตลอด ทำให้เกินความสามารถที่จะรับได้ และปล่อยให้ไหลออกมาทางรูลมอย่างช้าๆ พอเช้าตื่นขึ้นมาสูบ สิ่งที่เจอคือน้ำยาหกเลอะเทอะแล้ว ดังนั้นควรคำนวณปริมาณที่จะใช้งานในแต่ละวันให้ดี